ขิม


                 ขิมเป็นเครื่องดนตรีของจีนในสมัยโบราณ ขิมเป็นได้ทั้งเครื่องตี เครื่องสี และเครื่องดีด จากเรื่องเล่าขานกันว่า   มีเจ้าเมืองแห่งหนึ่งชื่อ   " จีเซียงสี" ปกครองเมืองอยู่ได้ สองปีก็เกิดภัยพิบัติเป็นพายุใหญ่   ทำให้ไม้ดอกไม้ผลโรยร่วงหล่นไปสิ้น จูเซียงสี จึงปรึกษากับขุนนางว่าจะทำประการใดดี ขุนนางคนหนึ่งจึงกล่าวขึ้นว่า   เมื่อก่อนได้ทราบว่า พระเจ้าฮอกฮีสี ฮ่องเต้ ได้สร้างขิมชนิดหนึ่งมีสาย ห้าสาย ถ้าหากว่าแผ่นดินมีทุกข์สิ่งใดเกิดขึ้น ก็ให้นำขิมนั้นมาดีด   เนื่องจากขิมนั้นเป็นชัยมงคล จูเซียงสี จึงสั่งให้ช่างทำขิมห้าสายแจกให้ราษฏร ที่เกิดทุกข์เข็ญ เมื่อราษฏร ดีดขิมขึ้น เสียงที่ออกมามีความไพเราะ ทำให้ลมสงบ ต้นไม้ทั้งหลาย ก็ติดดอกออกผลบริบูรณ์ทั่วถึงกันชาวจีนจึงถือว่าขิม เป็นเครื่องดนตรีที่ให้เสียงประสานกันอย่างบริสุทธิ์ ถ้านำมาบรรเลงควบกับพิณอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า " เซะ" หรือ " เซ็ก" ซึ่งมีมากสาย ก็จะเป็น สัญลักษณ์ แลดงถึงความสามัคคี ประสานกันเป็นอย่างดี ขงจื้อได้กล่าวไว้ว่า  
" ผู้ซึ่งมีสามัคคีรสเป็นสุขสบายอยู่กับภรรยาและลูก ก็เปรียบเสมือนดนตรีขิม และพิณเซะฉะนั้น"
       จากการติดต่อสื่อสารกับชาวจึน ในสมัยรัชกาลที่ ๔  ชาวจีนได้นำขิมเข้ามาในประเทศไทย โดยนำมาบรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสายจีน และประกอบการแสดงงิ้วบ้าง บรรเลงในงานเทศกาล และงานรื่นเริงต่างๆบ้าง 
       นักดนตรีไทยจึงเกิดคว่ทคิดในการนำขิมมาบรรเลง  ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๖ โดยแก้ไขอุปกรณืบางชนิด เช่นเปลี่ยนสายลวดทองเหลืองให้มีขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับไปตลอดจน ถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายกับมือขวามีระดับเกือบตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้ใหญ่และก้านแข็งขิ้น หย่องที่หนุนสาย มีความหนา กว่าของเดิมเพื่อให้เกิดความ สมดุล และมีความประสงค์ให้เสียงดังมากขึ้น เสียงที่ออกมาจึงนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าวเกินไป ให้ทาบสักหลาดหรือหนัง ตรงปลายไม้ตี   ส่วนที่กระทบกับสาย ทำให้เสียงเกิดความนุ่มนวล และได้รับความนิยม บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผลมจนถึงปัจจุบัน
        เพลงที่นิยมบรรเลงกันมากคือ   เพลงขิมเล็ก   และเพลงขิมใหญ่  ซึ่งเป็นเพลงสำเนียงจีนที่เกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยพระประดิษฐ์ไพเราะ ( ครูมีแขก) ได้จำทำนองการตีขิมของคนจีน แล้วมาแต่งเป็นเพลงในอัตรา ๒ ชั้นได้ ๒ เพลง ตั้งชื่อว่า เพลงขิมเล็ก และ เพลงขิมใหญ่ สำหรับเพลงขิมเล็ก พระประดิษฐ์ไพเราะได้แต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น ส่วนเพลงขิมใหญ่ ครูช้อย สุนทรวาทิน ได้แต่งขึ้นเป็น อัตรา ๓ ชั้น เช่นกัน และทั้ง ๒ เพลงนี้ ครูมนตรี ตราโมท ได้แต่งตัดลงเป็นอัตราชั้นเดียว จนครบเป็นเพลงเถา เมื่อประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๗๘ และได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้
http://www.dontrithai.com/other/other1.htm
การเรียนรู้เรื่องดนตรีแต่ละเครื่องมือจำเป็นต้องรู้จักเครื่องดนตรีชนิดที่จะต้องเรียนก่อนเมื่อรู้จักเครื่องดนตรีแล้ว   ก็เริ่มฝึกปฏิบัติด้วยวิธีการสร้างเสียงในรูปแบบต่างๆตามลำดับ   การเรียนรู้เรื่องขิมจึงต้องรู้จักส่วนต่างๆของขิมโดยละเอียด   เช่น ภายในฝาขิมจะมีที่เก็บไม้ขิม   หลักคล้องสายขิม ช่องเสียง   ตัวขิม   นมขิม หลักขึ้นสาย   ไม้ตีขิม   ฆ้อน ที่ขึ้นสาย   ฯลฯ จะเข้   ผู้สอนต้องแนะนำให้รู้จักส่วนต่างๆ   เช่น   ไม้ดีดลูกบิดสายเอก   ลูกบิดสายทุ้ม    ลูกบิดสายลวด   นมจะเข้   ช่องเสียง   กล่องเสียง หย่อง   แหน   เป็นต้น
ขั้นตอนที่สอง   ฝึกภาคปฎิบัติ การจับไม่ตีขิม   การพันไม้ดีดจะเข้ และการนั่งจะต้องถูกวิธี   คือ   ตัวตรง
มีสง่า   สำหรับขิม    ฝึกหัดตีกรอคู่แปดแถวซ้าย-ขวา เมื่อคล่องให้ตีกรอคู่แปดแถว ซ้าย-กลาง    ตีกรอคู่แปดแถว   กลาง-ขวา
ขั้นตอนต่อไป   ตีสลับสามแถว   เป็นแถว ซ้าย-กลาง แถวซ้าย-ขวา   ด้วยมือ   ซ้าย-ขวา-ซ้าย-
ขวา   สลับกัน     ฝึกตีสบัดขึ้นลง ตีสบัดผสมแถวซ้าย    ตีสบัดผสมแถวกลาง   ตีสบัดผสม

แถวขวา   เมื่อคล่องดีแล้ว ก็ให้ฝึกตีกรอคู่สาม คู่สี่ ต่อจากนั้นก็ฝึกตีทำนองเพลง    และฝึกเล่นรวมวงเป็นลำดับถัดไป
เรื่องราวของขิม 

ขิม เป็นเครื่องดนตรีประเภท เครื่องตี เป็นหนึ่งในวง เครื่องสายประสมของไทย ใช้บรรเลงทำนอง นิยมเล่น แพร่หลายในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยการนำเข้ามาของ พ่อค้าชาวจีน แต่ขิมมีต้นกำเนิดที่แท้จริงมาจากชาวเปอร์ เชีย ซึ่งได้นำเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีนมาก่อน ดังจะ เห็นได้จากการที่ชาวจีนเรียกขิมว่า “ หยางฉิน ” ซึ่งแปลว่า เครื่องดนตรีของชาวต่างชาติ ส่วนชาวตะวันตกเรียก ขิมว่า “Hammer Dulcimer” ซึ่งหมายถึง พิณที่ใช้ฆ้อน ตี เมื่อขิมถูกนำมาบรรเลงผสมกับเครื่องดนตรีไทย จนเป็นที่นิยม จึงมีการปรับแต่งรูปทรงและชิ้นส่วนต่างๆ ให้เหมาะสมและมีความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น และยังมีการ พัฒนาต่อไปเป็นขิมรูปแบบอื่นๆ อีกมากมายในปัจจุบัน
ส่วนประกอบขิม 
          ขิมรูปทรงมาตรฐานที่ได้รับความนิยมเรื่อยมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน คือ ขิมหยัก ขิมหยักประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก ๒ ชิ้น คือส่วนตัวขิม และส่วนฝาขิม เมื่อเวลากางออกมาเรียงคู่กัน จะดูเหมือนรูปผีเสื้อกางปีก จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขิมผีเสื้อ
ตัวขิม มีลักษณะเป็นกล่องไม้ ภายในกลวง ทำหน้าที่คล้ายตู้ลำโพงขยายเสียง...ด้านซ้ายของตัวขิม คือ หมุดยึดสายขิม จำนวน ๔๒ หมุด ลักษณะ เป็นแท่งโลหะ ตอกยึดลงบนตัวขิม ใช้สำหรับพันปลายสายขิมข้างหนึ่งไว้ ส่วนปลายสายอีกข้างหนึ่ง จะขึงไว้กับ หมุด ตั้งสาย ซึ่งอยู่ทางขวาสุดของตัวขิม จำนวน ๔๒ หมุดเช่นกัน มีลักษณะคล้ายกับหมุดยึดสายขิม แต่เป็นแท่งโลหะเกลียว ขันยึดกับตัวขิม ทำให้สามารถหมุนปรับความตึงสายได้
          ถัดเข้ามาจากหมุดยึดสายขิมทั้ง ๒ ข้าง คือ หย่องหนุนสายขิม ลักษณะเป็นแท่งไม้รูปสามเหลี่ยม บางตัวจะมีแท่งโลหะเสริมอยู่ด้านบน
          ตรงกลางของตัวขิมจะมีแผ่นไม้รองรับสายขิมอยู่ ๒ แผ่น เรียกว่า หย่องขิม ลักษณะเป็นแผ่นไม้ฉลุ เซาะเป็นร่องสลับกับแท่งหย่อง แผ่นหนึ่งจะมี ๗ หย่อง หย่องขิมจะวางติดอยู่บนหน้าขิม ด้วยแรงกดของสายขิมเท่านั้น ไม่มีการติดยึดกับตัวขิมแต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเลื่อนปรับแท่งหย่องไปมา เพื่อปรับตั้งเสียงทั้งสองข้างของหย่องได้
          สำหรับ สายขิม นั้นทำจากลวดทองเหลือง หรือลวดสเตนเลส มีทั้งหมด ๔๒ เส้น โดยแบ่งขึงเป็นแถว แถวละ ๓ เส้น เสียงขิม ๑ เสียงจะเกิดจากการตีลงบนสายขิมทั้ง ๓ เส้นพร้อมกันในครั้งเดียว
          บริเวณบนหน้าขิม จะถูกคว้านเป็นรูกลมๆ ๒ รู ปิดทับด้วยแผ่นลายฉลุเพื่อความสวยงาม รูนี้มีไว้สำหรับเป็น ช่องเสียง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความกังวาน ไพเราะ ไม่อับทึบ
          อุปกรณ์สำคัญที่ทำให้เกิดเสียงก็คือ ไม้ตีขิม ทำด้วยไม้ไผ่ เหลาจากโคนด้ามใหญ่ ให้เรียวแบนจนถึงปลาย ส่วนตรงปลายที่ใช้ตี ทำเป็นสันไม้นูน นิยมหุ้มด้วยหนังเพื่อให้เสียงนุ่มขึ้น เสียงขิมจะดังหรือเบา จะแหลมหรือทุ้ม ขึ้นอยู่กับไม้ขิมตรงส่วนนี้ด้วย
          อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นอีกอันหนึ่งก็คือ ที่ตั้งเสียง ลักษณะเป็นโลหะรูปทรงกระบอก ไว้ใช้ครอบหัวหมุดตั้งสาย เพื่อหมุน ปรับแต่งความตึงของสายให้ได้ระดับเสียงสูงต่ำที่ต้องการ
การจับไม้ขิม และวิธีการตี
การวางขิม ในการบรรเลงดนตรีไทย นักดนตรีจะนั่งพับเพียบกับพื้น และวางเครื่องดนตรีที่จะบรรเลงไว้ข้างหน้า
สำหรับขิมนั้น สามารถจัดวางบนพื้นได้ ๒ ลักษณะคือ วางฝาขิมคว่ำลงกับพื้นก่อน แล้วจึงวางตัวขิมทับลงไปในทิศทางเดียวกัน... อีกลักษณะหนึ่งคือ หงายฝาขิมขึ้น แล้ววางตัวขิมทับลงไปแบบสลับทิศทางกัน ซึ่งการวางแบบนี้จะทำให้เสียงขิมมีความกังวานมากกว่า เพราะมีฝาขิมทำหน้าที่เสมือนกล่องลำโพงช่วยขยายเสียงด้วย แต่มีข้อเสียคือ ฝาขิมอาจเป็นลอยขีดข่วนได้ง่าย
การนั่ง เวลานั่งบรรเลง ควรนั่งให้ห่างจากตัวขิมในระยะที่พอดีกับช่วงแขนของตน โดยประมาณจากระยะของแขนที่จะต้องยื่นไปตีตำแหน่งสายที่อยู่บนสุด กับสายที่อยู่ล่างสุด ให้มีความคล่องตัว ไม่ติดขัด
การจับไม้ การจับไม้ขิม ให้จับบริเวณปลายสุดของด้ามไม้ โดยให้ไม้วางอยู่บนข้อนิ้วชี้ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดทางด้านบนให้แน่น ส่วนนิ้วที่เหลือให้ประคองด้ามไม้ไว้แค่พอหลวมๆ โดยที่ปลายนิ้วก้อยจะอยู่บริเวณปลายไม้พอดี ควรถือไม้ให้มืออยู่เหนือระดับสายขิมเล็กน้อย อย่าอยู่ต่ำกว่าสายขิม เพราะจะทำให้ไม่สามารถตีตำแหน่งสายขิมด้านบนได้
การตี วิธีตีขิม ให้ใช้เพียงส่วนข้อมือ ตีแบบสะบัดในลักษณะเหมือนกับการเคาะ นั่นคือเมื่อปลายไม้กระทบกับสายขิมแล้ว จะต้องมีอาการดึงไม้กลับด้วย ไม่ใช่ตีลงไปแล้วปล่อยไม้ขิมค้างไว้ … หรือตีขึ้นลงทั้งท่อนแขน...ต้องตีให้บริเวณหัวไม้กระทบลงบนสายขิมเท่ากันทั้ง ๓ สาย เพื่อให้เกิดเสียงที่ ชัดเจนเพียงเสียงเดียวเท่านั้น โดยตีห่างจากหย่องขิมประมาณ ๑ นิ้ว หากตีไม่ถูกต้อง เสียงจะเบา และแตกซ้อนเป็นหลายเสียง
เสียงขิม 
เสียงดนตรีไทยเมื่อเปรียบเทียบกับเสียงดนตรีสากล จะมีเสียงหลักอยู่ ๗ เสียงโน้ตเช่นเดียวกัน คือ “ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที ” ซึ่งเขียนเป็นตัวโน้ตย่อได้ว่า “ ด ร ม ฟ ซ ล ท ” ตามลำดับ
สำหรับเสียงขิมนั้นมีทั้งหมด ๒๑ เสียง แบ่งตามระดับเสียงสูงต่ำได้ทั้งหมด ๓ ช่วงเสียง คือ เสียงสูง เสียงกลาง และ เสียงต่ำ โดยมีตำแหน่งที่ตี ไล่ลำดับเป็นแถวในแนวตั้งได้ ๓ แถว แถวละ ๗ เสียง ดังนี้
แถวซ้าย จะเป็นเสียงสูง โดยเริ่มจากตำแหน่งที่อยู่ด้านบนสุด คือเสียง ลาสูง … ถัดลงมาเป็นเสียงซอล … ฟา..มี..เร..และ โด … ส่วนตำแหน่งล่างสุด เป็นเสียง ทีกลาง …
ต่อมาใน แถวกลาง สามบรรทัดบน จะเป็นเสียงซ้ำกับสามบรรทัดล่างของแถวซ้าย คือเสียง เรสูง … โดสูง … และ ทีกลาง … ถัดลงมาจะเป็นเสียงกลางที่เหลือ ได้แก่ เสียงลา … ซอล … ฟา … และ มี … ต่อมาเป็น แถวขวา ซึ่งแต่ละบรรทัดจะอยู่เหลื่อมลงมาต่ำกว่าแถวซ้ายและแถวกลางอยู่หนึ่งบรรทัด และ ๓ บรรทัดบนก็จะเป็นเสียงซ้ำกับ ๓ บรรทัดล่างของแถวกลางอีกเช่นกัน คือเสียง ซอล … ฟา … และมี … ถัดลงมาจะเป็นเสียง เรกลาง … และโดกลาง …
ส่วน ๒ บรรทัดล่างที่เหลือ จะเป็นเสียงต่ำ ได้แก่เสียงทีต่ำ … และ ลาต่ำ … ส่วนแถวถัดไปทางด้านขวาของหย่องขวานั้น จะใช้ตีไม่ได้ เพราะมีความตึงของสายมากเกินไป
ตำแหน่งเสียงขิมทั้ง ๒๑ เสียงนี้ แม้จะมีเสียงที่ซ้ำกันอยู่หลายเสียง แต่ในการตีจริง
การอ่านโน้ตขิม 
          สำหรับโน้ตเพลงไทยทั่วไป จะมีการแบ่งจังหวะออกเป็นห้องๆ ห้องละ ๔ จังหวะ ดังนั้นใน ๑ ห้องจึงบรรจุตัวโน้ตไว้ ๔ ตัว และเมื่อครบ ๘ ห้อง จะรวมเป็น ๑ บรรทัดโน้ต....
          ในการบรรเลงเพลง แต่ละจังหวะจะต้องดำเนินต่อเนื่องกันไปอย่างสม่ำเสมอ คล้ายจังหวะของเข็มวินาทีที่เดินเท่ากันตลอดเวลา โดยที่เส้นแบ่งห้องนั้นจะไม่มีผลต่อจังหวะแต่อย่างใด เป็นเพียงเครื่องหมายบอกให้รู้ว่า ครบ ๑ ห้องหรือครบ ๔ จังหวะแล้วเท่านั้น แต่ที่ต้องแบ่งโน้ตออกเป็นห้องๆ ก็เพื่อให้ง่ายต่อการนับจังหวะเวลาเล่น โดยนักดนตรีจะคอยนับเพียงจังหวะที่ ๔ ของแต่ละห้อง ซึ่งเรียกว่า “ จังหวะตก ” เป็นหลักเท่านั้น และจะต้องควบคุมจังหวะตกนี้ให้เท่ากันสม่ำเสมอตลอดทั้งเพลง
          โน้ตของเครื่องดนตรีไทย ก็จะมีลักษณะโน้ตแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของเครื่องดนตรีนั้นๆ เช่น โน้ตขิม ซึงมีตำแหน่งเสียงในการตีเป็นลักษณะแถว ๓ แถว ดังนั้นโน้ตขิมจึงมีการแบ่งซอยบรรทัดจากโน้ตเพลงปกติ ๑ บรรทัด ออกเป็น ๓ แถวย่อย เพื่อให้สามารถแสดงตำแหน่งเสียงที่จะตีในแต่ละแถวได้ครบ โดยแถวบนสุด จะแทนเสียงที่อยู่ในแถวซ้ายของขิม … แถวกลาง แทนเสียงที่อยู่ในแถวกลาง ….    และแถวล่างสุดแทนเสียงที่อยู่ในแถวขวาโดยปกติแล้ว การตีขิมทั่วไปมักจะเริ่มด้วยมือซ้ายก่อน ดังนั้นหลักคร่าวๆ ในการอ่านโน้ตขิมอย่างหนึ่งก็คือ โน้ตตัวที่ ๑ และตัวที่ ๓ ของห้องมักจะตีด้วยมือซ้าย...ส่วนโน้ตตัวที่ ๒ และตัวที่ ๔ จะตีด้วยมือขวาแต่ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่ตายตัว จึงอาจมียกเว้นบ้างในบางโอกาส
ลูกเล่นในการตีขิม 
การตีเก็บ หมายถึงการตีสลับมือซ้ายขวา เหมือนการตีปกติ โดยตีเสียงโน้ตละ ๑ จังหวะ
การตีสะบัด หมายถึงการตีไล่เสียง ๓ ตัวโน้ตต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเพียง ๒ หรือ ๑ จังหวะ เพื่อให้ทำนองมีความพริ้วไหวมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการแทรกโน้ตตัวที่ ๓ เพิ่มเข้าไปในโน้ต ๒ ตัวเดิม ภายในจังหวะเท่าเดิม เช่น โน้ตเดิมคือ โด ลา ….. เพิ่มเป็นสะบัด ๓ เสียงคือ เร โด ลา … หรือ ซอล มี .. เป็น ลา ซอล มี
การตีกรอ หรือ ตีรัว หมายถึง การตีให้มีเสียงโน้ตดังต่อเนื่องกันอย่างสม่ำเสมอ (ตั้งแต่ ๒ จังหวะขึ้นไป) ด้วยการตีสลับมือเร็วๆ โดยต้องเริ่มจากมือขวา และจบด้วยมือขวาเช่นกัน
( การตีรัว หมายถึงตีสลับมือลงบนโน้ตตัวเดียวกันอย่างต่อเนื่อง … ส่วนการกรอ จะตีสลับมือบนโน้ตคนละตัว)

ความคิดเห็น