ประวัติ เครื่องดนตรีไทย
ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจาก
อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่าง ๆ
ของอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล
ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน
ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทาง
ด้านดนตรี ปรากฎรูปร่างลักษณะ
เครื่องดนตรี ของประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ
มาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก
ทั้งนี้เนื่องมาจาก
ประเทศเหล่านั้นต่างก็ยึดแบบฉบับ ดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน
รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ
เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า
การ สันนิษฐานเกี่ยวกับ
กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม
นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐาน เกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น
และนับว่า
เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย
ทัศนะคติที่ 2 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย เกิดจากความคิด และ สติปัญญา ของคนไทย เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนไทย ตั้งแต่ สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ ของประเทศจีนแล้ว
ทั้งนี้เนื่องจาก ดนตรี
เป็นมรดกของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มี ดนตรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์
ของตนด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าในภายหลัง จะมีการรับเอาแบบอย่าง
ดนตรี ของต่างชาติเข้ามาก็ตาม
แต่ก็เป็น การนำเข้ามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับ ลักษณะและนิสัยทางดนตรี
ของคนในชาตินั้น ๆ ไทยเรา
ตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน
ก็คงจะมี ดนตรี ของเราเองเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ จะสังเกตุเห็นได้ว่า เครื่องดนตรี
ดั้งเดิมของไทย จะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด
ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้
เช่นเกราะ, โกร่ง, กรับ ฉาบ, ฉิ่งปี่, ขลุ่ยฆ้อง, กลอง .. เป็นต้น
ต่อ มาเมื่อไทยได้ อพยพ
ลงมาตั้งถิ่นฐานในแถบแหลมอินโดจีน จึงได้มาพบวัฒนธรรมแบบอินเดีย โดยเฉพาะ
เครื่องดนตรี อินเดีย ซึ่งชนชาติมอญ และ เขมร
รับไว้ก่อนที่ไทยจะอพยพเข้ามา
ด้วยเหตุนี้ ชนชาติไทย ซึ่งมีนิสัยทางดนตรีอยู่แล้ว จึงรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีแบบอินเดีย
ผสมกับแบบมอญและเขมร เข้ามาผสมกับ
ดนตรีที่มีมาแต่เดิมของตน
จึงเกิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่พิณ สังข์ ปี่ไฉน บัณเฑาะว์ กระจับปี่
และจะเข้ เป็นต้น
ต่อมาเมื่อไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมอินโดจีนอย่างมั่นคงแล้ว ได้มีการ ติดต่อสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้านในแหลมอินโดจีนหรือแม้แต่กับประเทศทางตะวันตก บางประเทศ
ต่อมาเมื่อไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมอินโดจีนอย่างมั่นคงแล้ว ได้มีการ ติดต่อสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้านในแหลมอินโดจีนหรือแม้แต่กับประเทศทางตะวันตก บางประเทศ
ที่เข้ามา ติดต่อค้าขาย
ทำให้ไทยรับเอาเครื่องดนตรีบางอย่าง ของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้ เล่นใน
วงดนตรีไทย ด้วย เช่น กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนิเซีย)
กลองมลายู ของมลายู (มาเลเซีย)
เปิงมาง ตะโพนมอญ ปี่มอญ และฆ้องมอญ ของมอญ กลองยาวของพม่า ขิม ม้าล่อของจีน
กลองมริกัน (กลองของชาวอเมริกัน)
เปียโน ออร์แกน และ ไวโอลีน
ของประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
วิวัฒนาการของวงดนตรีไทย
นับ
ตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีน และได้ก่อตั้งอาณาจักรไทยขึ้น จึงเป็นการเริ่มต้น
ยุคแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ปรากฎ หลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ
เมื่อไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น
และหลังจากที่ พ่อขุนรามคำแหง มหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แล้ว
นับตั้งแต่นั้นมาจึงปรากฎหลักฐานด้าน ดนตรีไทย
ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในหลักศิลาจารึก
หนังสือวรรณคดี และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุค
ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการพิจารณา
ถึงความเจริญและวิวัฒนาการของ
ดนตรีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา จนกระทั่งเป็นแบบแผนดังปรากฎ ในปัจจุบัน
พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
สมัยสุโขทัยดนตรีไทยมีลักษณะเป็น
การขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีไทย ในสมัยนี้
ปรากฎหลักฐานกล่าวถึงไว้ใน
หนังสือ
ไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดี ที่แต่งในสมัยนี้ ได้แก่ แตร, สังข์, มโหระทึก, ฆ้อง, กลอง, ฉิ่ง, แฉ่ง (ฉาบ), บัณเฑาะว์ พิณ,
ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าคือ ซอสามสาย) ปี่ไฉน, ระฆัง, และ กังสดาล เป็นต้น ลักษณะการผสม วงดนตรี
ก็ปรากฎหลักฐานทั้งในศิลาจารึก และหนังสือไตรภูมิพระร่วง
กล่าวถึง "เสียงพาทย์
เสียงพิณ"
ซึ่งจากหลักฐานที่กล่าวนี้
สันนิษฐานว่า วงดนตรีไทย ในสมัยสุโขทัย มีดังนี้ คือ
1. วงบรรเลงพิณ
มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย เป็นลักษณะของการขับลำนำ
2. วงขับไม้
ประกอบด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือ คนขับลำนำ 1 คน คนสี ซอสามสาย
คลอเสียงร้อง 1 คน และ คนไกว บัณเฑาะว์ ให้จังหวะ 1 คน
3. วงปี่พาทย์
.เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่อง 5 มี 2 ชนิด คือ
วง ปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างเบา
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดเล็ก ๆ
จำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ 2. กลองชาตรี 3. ทับ (โทน) 4. ฆ้องคู่ และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดง
ละครชาตรี
(เป็นละครเก่าแก่ที่สุดของไทย)
วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างหนัก
ประกอบด้วย เครื่องดนตรีจำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ใน 2. ฆ้องวง (ใหญ่) 3. ตะโพน 4. กลองทัด และ 5. ฉิ่ง
ใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีและบรรเลงประกอบ
การแสดงมหรสพ ต่าง ๆ จะเห็นว่า วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ยังไม่มีระนาดเอก
4. วงมโหรี
เป็นลักษณะของวงดนตรีอีกแบบหนึ่ง
ที่นำเอา วงบรรเลงพิณ กับ วงขับไม้ มาผสมกัน เป็นลักษณะของ วงมโหรีเครื่องสี่
เพราะประกอบด้วยผู้บรรเลง 4 คน
คือ 1. คนขับลำนำและตี กรับพวง ให้จังหวะ 2. คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 3. คนดีดพิณ และ 4. คนตีทับ (โทน)
ควบคุมจังหวะ
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ใน สมัยนี้ ในกฏมลเฑียรบาล
ซึ่งระบุชื่อ เครื่องดนตรีไทย เพิ่มขึ้น จากที่เคยระบุไว้ ในหลักฐานสมัยสุโขทัย
จึงน่าจะเป็น เครื่องดนตรี ที่เพิ่งเกิดในสมัยนี้ ได้แก่ กระจับปี่ ขลุ่ย
จะเข้ และ รำมะนา
นอกจากนี้ในกฎมณเฑียรบาลสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) ปรากฎข้อห้ามตอนหนึ่งว่า "...ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่
สีซอ
ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ
ในเขตพระราชฐาน..." ซึ่งแสดงว่าสมัยนี้ ดนตรีไทย เป็นที่นิยมกันมาก
แม้ในเขตพระราชฐาน
ก็มีคนไปร้องเพลงและเล่นดนตรีกันเป็นที่เอิกเกริกและเกินพอดี
จนกระทั่งพระมหากษัตริย์ต้องทรงออกกฎมลเฑียรบาล ดังกล่าวขึ้นไว้เกี่ยวกับลักษณะของ
วงดนตรีไทย
ในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง
และพัฒนาขึ้นกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้ คือ
1. วงปี่พาทย์
ในสมัยนี้ ก็ยังคงเป็น
วงปี่พาทย์เครื่องห้า เช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัย แต่มี ระนาดเอก
เพิ่มขึ้น ดังนั้น
วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ประกอบด้วย เครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ คือ 1. ระนาดเอก 2. ปี่ใน 3. ฆ้องวง (ใหญ่) 4. กลองทัด ตะโพน 5. ฉิ่ง
2. วงมโหรี
ในสมัยนี้พัฒนามาจาก วงมโหรีเครื่องสี่
ในสมัยสุโขทัยเป็น วงมโหรีเครื่องหก เพราะได้เพิ่ม เครื่องดนตรี เข้าไปอีก 2 ชิ้น คือ ขลุ่ย และ รำมะนา
ทำให้ วงมโหรี ในสมัยนี้ ประกอบด้วย
เครื่องดนตรี จำนวน 6 ชิ้น คือ 1. ซอสามสาย 2. กระจับปี่ (แทนพิณ) 3. ทับ (โทน) 4. รำมะนา 5. ขลุ่ย 6. กรับพวง
สมัยกรุงธนบุรี
เนื่อง
จากในสมัยนี้เป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ 15 ปี และประกอบกับ เป็นสมัยแห่งการก่อร่างสร้างเมือง
และการป้องกันประเทศเสียโดยมาก วงดนตรีไทย
ในสมัยนี้จึงไม่ปรากฎหลักฐานไว้ว่า
ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้น สันนิษฐานว่า ยังคงเป็นลักษณะและรูปแบบของ ดนตรีไทย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ใน สมัยนี้
เมื่อบ้านเมืองได้ผ่านพ้นจากภาวะศึกสงคราม
และได้มีการก่อสร้างเมืองให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น เกิดความ สงบร่มเย็น โดยทั่วไปแล้ว
ศิลป วัฒนธรรม ของชาติ
ก็ได้รับการฟื้นฟูทะนุบำรุง
และส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะ ทางด้าน ดนตรีไทย ในสมัยนี้ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเจริญขึ้นเป็นลำดับ
ดังต่อไปนี้
รัชกาลที่ 1
ดนตรี ไทย ในสมัยนี้ส่วนใหญ่
ยังคงมีลักษณะ และ รูปแบบตามที่มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่พัฒนาขึ้นบ้างในสมัยนี้ก็คือ การเพิ่ม กลองทัด ขึ้นอีก 1 ลูก ใน วงปี่พาทย์
ซึ่ง แต่เดิมมา มีแค่ 1 ลูก พอมาถึง สมัยรัชกาลที่ 1 วงปี่พาทย์ มี กลองทัด 2 ลูก เสียงสูง (ตัวผู้) ลูกหนึ่ง และ เสียงต่ำ (ตัวเมีย) ลูกหนึ่ง
และการใช้ กลองทัด 2 ลูก
ในวงปี่พาทย์ ก็เป็นที่นิยมกันมา
จนกระทั่งปัจจุบันนี้
รัชกาลที่ 2
อาจกล่าว ว่าในสมัยนี้
เป็นยุคทองของ ดนตรีไทย ยุคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงสนพระทัย
ดนตรีไทย เป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ในทาง
ดนตรีไทย ถึงขนาดที่ ทรงดนตรีไทย
คือ ซอสามสาย ได้ มีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ทั้งพระองค์ได้
พระราชนิพนต์ เพลงไทย ขึ้นเพลงหนึ่ง เป็นเพลงที่ไพเราะ
และอมตะ มาจนบัดนี้นั่นก็คือเพลง
"บุหลันลอยเลื่อน" การพัฒนา เปลี่ยนแปลงของ ดนตรีไทย ในสมัยนี้ก็คือ
ได้มีการนำเอา วงปี่พาทย์มาบรรเลง ประกอบการขับเสภา
เป็นครั้งแรก นอกจากนี้
ยังมีกลองชนิดหนึ่งเกิดขึ้น โดยดัดแปลงจาก "เปิงมาง" ของมอญ
ต่อมาเรียกกลองชนิดนี้ว่า "สองหน้า"
ใช้ตีกำกับจังหวะแทนเสียงตะโพนในวงปี่พาทย์
ประกอบการขับเสภา เนื่องจากเห็นว่าตะโพนดังเกินไป
จนกระทั่งกลบเสียงขับ กลองสองหน้านี้ ปัจจุบันนิยมใช้ตีกำกับจังหวะหน้าทับ
ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
รัชกาลที่ 3
วง
ปี่พาทย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพราะได้มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้ม
มาคู่กับระนาดเอก และประดิษฐ์ฆ้องวงเล็กมาคู่กับ ฆ้องวงใหญ่
รัชกาลที่ 4
วง
ปี่พาทย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เพราะได้มีการประดิษฐ์
เครื่องดนตรี เพิ่มขึ้นอีก 2 ชนิด เลียนแบบ ระนาดเอก
และระนาดทุ้ม โดยใช้โลหะทำลูกระนาด
และทำรางระนาดให้แตกต่างไปจากรางระนาดเอก
และระนาดทุ้ม (ไม้) เรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก นำมาบรรเลงเพิ่มในวงปี่พาทย์เครื่องคู่
ทำให้ ขนาดของ
วงปี่พาทย์ขยายใหญ่ขึ้นจึงเรียกว่า
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ อนึ่งในสมัยนี้ วงการดนตรีไทย
นิยมการร้องเพลงส่งให้ดนตรีรับ หรือที่เรียกว่า "การร้องส่ง"
กันมากจนกระทั่ง
การขับเสภาซึ่งเคยนิยมกันมาก่อนค่อย
ๆ หายไป และการร้องส่งก็เป็นแนวทางให้มีผู้คิดแต่งขยายเพลง 2 ชั้นของเดิมให้เป็นเพลง 3 ชั้น และตัดลง เป็นชั้นเดียว
จนกระทั่งกลายเป็นเพลงเถาในที่สุด
(นับว่าเพลงเถาเกิดขึ้นมากมายในสมัยนี้) นอกจากนี้ วงเครื่องสาย ก็เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เช่นกัน
รัชกาลที่ 5
ได้
มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นใหม่ชนิดหนึ่ง ซึ่งต่อมาเรียกว่า
"วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" โดยสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
สำหรับใช้บรรเลงประกอบการแสดง
"ละครดึกดำบรรพ์"
ซึ่งเป็น ละครที่เพิ่งปรับปรุงขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เช่นกัน
หลักการปรับปรุงของท่านก็โดยการตัดเครื่องดนตรีชนิดเสียงเล็กแหลม หรือดังเกินไปออก
คงไว้แต่เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้ม
นุ่มนวล กับเพิ่มเครื่องดนตรีบางอย่างเข้ามาใหม่ เครื่องดนตรี
ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จึงประกอบด้วยระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่
ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ย
ซออู้ ฆ้องหุ่ย (ฆ้อง 7 ใบ) ตะโพน กลองตะโพน
และเครื่องกำกับจังหวะ
รัชกาลที่ 6
ได้
การปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง โดยนำวงดนตรีของมอญมาผสมกับ
วงปี่พาทย์ของไทย ต่อมาเรียกวงดนตรีผสมนี้ว่า "วงปี่พาทย์มอญ"
โดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร
ศิลปบรรเลง) เป็นผู้ปรับปรุงขึ้น วงปี่พาทย์มอญดังกล่าวนี้
ก็มีทั้งวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ เช่นเดียวกับ
วงปี่พาทย์ของไทย
และกลายเป็นที่นิยมใช้บรรเลงประโคมในงานศพ มาจนกระทั่งบัดนี้
นอกจากนี้ยังได้มีการนำเครื่องดนตรีของต่างชาติ เข้ามาบรรเลงผสมกับ
วงดนตรีไทย
บางชนิดก็นำมาดัดแปลงเป็นเครื่องดนตรีของไทย ทำให้รูปแบบของ วงดนตรีไทย
เปลี่ยนแปลงพัฒนา ดังนี้ คือ
1. การนำเครื่องดนตรีของชวา
หรืออินโดนีเซีย คือ "อังกะลุง" มาเผยแพร่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก
โดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
ทั้งนี้โดยนำมาดัดแปลง ปรับปรุงขึ้นใหม่ให้มีเสียงครบ
7 เสียง (เดิมมี 5 เสียง) ปรับปรุงวิธีการเล่น โดยถือเขย่าคนละ 2 เสียง ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้
กลายเป็นเครื่องดนตรีไทยอีกอย่างหนึ่ง
เพราะคนไทยสามารถทำอังกะลุงได้เอง อีกทั้งวิธีการบรรเลงก็เป็นแบบเฉพาะของเรา
แตกต่างไปจากของชวาโดยสิ้นเชิง
2. การนำเครื่องดนตรีของต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมในวงเครื่องสาย
ได้แก่ ขิมของจีน และออร์แกนของฝรั่ง ทำให้วงเครื่องสายพัฒนารูปแบบของวง
ไปอีกลักษณะหนึ่ง คือ
"วงเครื่องสายผสม "
รัชกาลที่ 7
พระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสนพระทัยทางด้าน ดนตรีไทย มากเช่นกัน พระองค์ได้พระราชนิพนธ์
เพลงไทยที่ไพเราะไว้ถึง 3 เพลง คือ
เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น เพลงเขมรลอยองค์ (เถา) และเพลงราตรีประดับดาว (เถา)
พระองค์และพระราชินีได้โปรดให้ครูดนตรีเข้าไปถวายการสอนดนตรีในวัง
แต่เป็นที่น่าเสียดาย
ที่ระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของพระองค์ไม่นาน
เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และพระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ หลังจากนั้นได้
2 ปี
มิฉะนั้นแล้ว ดนตรีไทย
ก็คงจะเจริญรุ่งเรืองมาก ในสมัยแห่งพระองค์ อย่างไรก็ตามดนตรีไทยในสมัยรัชกาลนี้
นับว่าได้พัฒนารูปแบบ และลักษณะ มาจนกระทั่ง สมบูรณ์
เป็นแบบแผนดังเช่น ในปัจจุบันนี้แล้ว
ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชมีผู้นิยมดนตรีไทยกันมาก และมีผู้มีฝีมือ ทางดนตรี ตลอดจน
มีความคิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ให้พัฒนาก้าวหน้ามาตามลำดับ
พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ตลอดจนขุนนางผู้ใหญ่ ได้ให้ความอุปถัมภ์
และทำนุบำรุงดนตรีไทย ในวังต่าง ๆ มักจะมีวงดนตรีประจำวัง เช่น
วงวังบูรพา วงวังบางขุนพรหม
วงวังบางคอแหลม และวงวังปลายเนิน เป็นต้น แต่ละวงต่างก็ขวนขวายหาครูดนตรี
และนักดนตรีที่มีฝีมือเข้ามาประจำวง
มีการฝึกซ้อมกันอยู่เนืองนิจ
บางครั้งก็มีการประกวดประชันกัน จึงทำให้ดนตรีไทยเจริญเฟื่องฟูมาก
ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา
ดนตรีไทยเริ่มซบเซาลง อาจกล่าวได้ว่า
เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่ ดนตรีไทย เกือบจะถึงจุดจบ
เนื่องจากรัฐบาลในสมัยหนึ่งมีนโยบายทีเรียกว่า "รัฐนิยม" ซึ่งนโยบายนี้
มีผลกระทบต่อ ดนตรีไทย ด้วย
กล่าวคือมีการห้ามบรรเลง ดนตรีไทย เพราะเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
ให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ ใครจะจัดให้มีการบรรเลง
ดนตรีไทย ต้องขออนุญาต
จากทางราชการก่อน อีกทั้ง นักดนตรีไทยก็จะต้องมีบัตรนักดนตรีที่ทางราชการออกให้
จนกระทั่งต่อมาอีกหลายปี เมื่อได้มี การสั่ง
ยกเลิก
"รัฐนิยม"ดังกล่าวเสีย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม
ดนตรีไทยก็ไม่รุ่งเรืองเท่าแต่ก่อน ยังล้มลุกคลุกคลาน มาจนกระทั่งบัดนี้
เนื่องจากวิถีชีวิต และสังคมไทยเปลี่ยนแปลง
ไปจากเดิม วัฒนธรรมทางดนตรีของต่างชาติ
ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยเป็นอันมาก ดนตรีที่เราได้ยินได้ฟัง
และได้เห็นกันทางวิทยุ โทรทัศน์
หรือที่บรรเลงตามงานต่าง ๆ
โดยมากก็เป็นดนตรีของต่างชาติ หาใช่ "เสียงพาทย์ เสียงพิณ"
ดังแต่ก่อนไม่
ถึงแม้ว่าจะเป็นที่น่ายินดีที่เราได้มีโอกาสฟังดนตรีนานาชาตินานาชนิด
แต่ถ้าดนตรีไทย ถูกทอดทิ้ง และไม่มีใครรู้จักคุณค่า
ก็นับว่าเสียดายที่จะต้องสูญเสียสิ่งที่ดีงาม
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่งไป
ดังนั้น จึงควรที่คนไทยทุกคนจะได้ตระหนัก ถึงคุณค่าของ ดนตรีไทย
และช่วยกันทะนุบำรุงส่งเสริม และรักษาไว้
เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น