เราสามารถแบ่งยุคสมัยของดนตรีไทยออกเป็น ๔ ยุคสมัยด้วยกัน ได้แก่
๑. สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
๒. สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
๓. สมัยกรุงศรีอยุธยา
๔. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จากประวัติศาสตร์และพงศาวดารที่อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้กล่าวว่าไทยเราในสมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น ปรากฏหลักฐานว่ามีเครื่องดนตรี เช่น กลอง ฆ้อง กรับ เจแวง ปี่พาทย์ พิณเพี้ยะ และเพลงกลอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไทยเรานั้นมีความเจริญก้าวหน้าทางการดนตรีมาแต่เก่าก่อน แสดงให้เห็นว่าประวัติศาสตร์และพงศาวดารชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาและความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนที่เข้าสู่ยุคสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่เริ่มเป็นประเทศขึ้นคือ กรุงสุโขทัย ดนตรีไทยและเพลงในสมัยโบราณหรือสมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานกันว่าหลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะบ่งบอกได้ก็คือ เครื่องดนตรี” และเครื่องดนตรีที่มีความเก่าแก่มากและเชื่อว่าเป็นเครื่องดนตรีไทยโบราณของไทยก็คือ แคน
แคน หลักฐานที่ยืนยันว่า แคนคือเครื่องดนตรีของไทยโบราณนั้นพบได้จากบันทึกของจีน คือ
ที่เมือง Changsha แคว้นยูนนาน เป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุง เขาได้พบศพ ๒ ศพ ที่เกรียวกราวมากคือเป็นศพที่มีอายุตั้ง ๒,๐๐๐ ปี แล้วร่างกายอยู่อย่างเก่าเอาอะไรกดเข้าไปก็ไม่เป็นอะไร แล้วก็เครื่องแต่งกายที่วิจิตรพิสดารมาก รัฐบาลของเขาให้ชื่อศพนี้ว่า “The Duke of Tai and his Consart” ในข้าง ๆ ศพ ปรากฏสิ่งของอยู่ ๒ อย่างคือ เครื่องใช้ประจำวันเป็นเครื่องเขิน เครื่องเขินที่คล้าย ๆ กับเชียวใหม่เรานี้ แล้วก็เป็นจำนวนนับร้อย แล้วอีกสิ่งหนึ่งก็เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ตรงกับของเราที่เรียกว่าแคน
จากบันทึกของจีนที่บันทึกว่าจีนมีแคนใช้มาประมาณ ๓,๐๐๐ ปี แต่จีนมีแคนใช้หลังไทย เพราะฉะนั้นแคนไทยต้องมีอายุมากกว่า ๓,๐๐๐ ปี ที่กล่าวว่าจีนมีแคนใช้หลังไทยเพราะถ้าใช้หลักการเปรียบเทียบรูปร่างเครื่องดนตรีประเภทเดียวกันและวัสดุที่ประกอบเครื่องดนตรีตามทฤษฎี Ethnomusicology แล้วจะเห็นว่า แคนจีน (Sheng) อ่านว่า เชิงมีรูปร่างกระทัดรัดสวยงามกว่าแคนไทย ทั้งนี้เพราะมีแบบอย่างแคนไทย ซึ่งรูปร่างยาวเก้งก้าง และใช้วัสดุที่ทนทานไม่เท่ากับแคนจีน เป็นตัวอย่างหรือเป็นแม่แบบแสดงว่าจีนประดิษฐ์แคนขึ้นช้ากว่าไทย เห็นข้อบกพร่องของแคนไทยแล้วจีนจึงสร้างแคนของตนได้งามสมบูรณ์แบบกว่า
สำหรับเพลงไทยนั้นก็ได้มีการพยายามศึกษาหาหลักฐาน อย่างเช่น ปัญญา รุ่งเรืองได้กล่าวว่า มีเพลงไทยโบราณยุคน่านเจ้า เพลงหนึ่งซึ่งอาจารย์ ดร.กำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้มาจากออกซฟอร์ดว่าเป็นบทเพลงเกี่ยวกับการที่ไทยเราส่งทูตไปเจริญทางไมตรีกับจีน เพลงนั้นเรียกกันว่า น่านเจ้าจิ้มก้อง” หรือทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงจีน และหากจะมีข้อแย้งว่า เป็นเพลงที่มีลักษณะเป็นเพลงจีนมากกว่าเพลงไทยนั้น ปัญญา รุ่งเรืองก็ได้ให้ข้ออธิบายไว้ว่า ตัวอย่างในเทปบันทึกเสียงนั้น บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีจีน คือ ปีปะ (Pi Pha) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปร่างคล้ายกระจับปี่ของไทย แต่กระทัดรัดกว่า ส่วนการบรรเลงใช้ดีดเหมือนกัน จึงทำให้สุ้มเสียงออกไปทางจีน ๆ ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ พืชพรรณ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ สามารถบังคับลักษณะนิสัยและอารมณ์ของคน และแม้แต่สำเนียงภาษาให้เปลี่ยนไปได้ เช่น ภาษาถิ่นของไทยทางเหนือ และไทยทางใต้ต่างกันออกไปมากทั้ง ๆ ที่เป็นภาษาเดียวกัน ดังนั้นทำนองเพลงจึงผิดเพี้ยนจากสำเนียงไทยไปบ้าง แต่ยังมีบางตอนที่เห็นว่าเป็นไทยชัดเจนดังเช่นตอนท้าย ๆ ของเพลง
จากความเชื่อที่ว่า เพลงน่านเจ้าจิ้มก้องอันเป็นเพลงของจีนนั้นน่าจะมีเค้ามาจากเพลงไทย ก็นับเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของเพลงไทย ซึ่งเชื่อกันว่าเพลงไทยก็ได้มีอิทธิพลในที่คนไทยเคยอาศัยอยู่ในอาณาจักรต่าง ๆ อีกมากมาย และหากมีการได้พบที่มาของเพลงดังที่อ้างแล้วข้างต้น ก็อาจจะเป็นข้อสันนิษฐานและให้ความเชื่อว่าเพลงไทยน่าจะมีความเป็นมาอย่างไรจากไหนบ้างยิ่ง ๆ ขึ้น ถือเป็นหลักฐานสำคัญต่อไป
สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี นับเป็นสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เพราะว่า เรื่องราวของชนชาติไทยปรากฏมีหลักฐานเด่นชัดขึ้นในสมัยสุโขทัย เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่าง ๆ ลงในหลักศิลา และจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยนี้ทำให้ทราบถึงประวัติศาตร์สุโขทัยเป็นอย่างดี ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นความเจริญทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การทหาร ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ต่างก็รุ่งเรืองอย่างสมดุล ชาวเมืองมีเครื่องเล่นสร้างความรื่นเริงบันเทิงใจ และมีอิสระเสรีที่จะแสดงออกในเรื่องราวของเพลงและดนตรี เพลงและเรื่องราวของดนตรีจึงปรากฏอยู่บนศิลาจารึก เพียงแต่คำสั้น ๆ ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า เสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเอื้อน เสียงขับ” ก็รู้สึกว่ามีความกว้างขวางมากมายอยู่ เสียงพาทย์ก็หมายถึงวงปี่พาทย์ เสียงพิณก็อาจจะได้แก่วงเครื่องสาย แต่ว่าเครื่องบรรเลงนั้นก็มีสิ่งใดบ้างก็ยากที่จะทราบได้ ทวีสิทธิ์ ไทรวิจิตร ได้กล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยโดยสันนิษฐานว่ามี กลองสองหน้า แตรงอน (คล้ายเขาสัตว์ทำด้วยโลหะ) แตรสังข์ ตะโพน ฆ้อง กลองทัด ฉิ่ง บัณเฑาะว์ กรับ กังสดาล มโหระทึก ซอสามสาย ระนาด ปี่ไฉน
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าในสมัยสุโขทัยมีเครื่องดนตรีทั้ง ๔ ประเภท คือ
เครื่องดีด - กระจับปี่ พิณน้ำเต้า และพิณเพี้ยะ
เครื่องสี - ซอสามสาย และซออื่น ๆ
เครื่องตี - ประเภทโลหะ - มโหระทึก ฆ้อง
ประเภทไม้ - กรับคู่ กรับพวง กรับเสภา
ประเภทหนัง - กลองทัด กลองตะโพน กลองตุ๊ก
เครื่องเป่า - พิสเนญชัย แตรงอน แตรสังข์ ปี่ไฉน
ส่วนเพลงที่บรรเลงในสมัยสุโขทัย ก็หาหลักฐานปรากฏได้ลำบากเต็มทีมีอยู่เพลงหนึ่งที่สงสัยกันว่าจะเป็นเพลงสมัยสุโขทัย เพลงนั้นเป็นเพลงพื้นเมืองที่เราเรียกว่าเทพทอง เทพทองเป็นการแสดงพื้นเมืองแบบเดียวกันกับเพลงฉ่อย แต่ว่าถ้อยคำที่เขาเล่นเพลงพื้นเมืองเทพทองนี้หยาบโลนยิ่งกว่าการแสดงอะไรทั้งนั้น เพลงเทพทองนั้นในวงการดนตรีไทยคือ เป็นเพลงร้องที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี เพลงเทพทองนี้เมื่อได้เปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการมาเป็นเพลงละคร มีปี่พาทย์รับขึ้นได้เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงสุโขทัย บางท่านก็เรียกเพลงสุโขทัย บางท่านก็เรียกว่าเพลงเทพทอง เพราะฉะนั้นจึงสงสัยว่าการเล่นเพลงพื้นเมืองเทพทองนี้อาจจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ว่าเวลานั้นคงจะแสดงกันเป็นเพลงพื้นเมืองเท่านั้น ยังไม่เป็นเพลงดนตรี คือยังไม่มีปี่พาทย์รับ
สำหรับการเกิดของเพลงไทยนั้น พูนพิศ อมาตยกุล ได้ให้ความคิดเห็นว่า การเกิดของเพลงไทยประเภทต่าง ๆ นั้น อาจแบ่งออกได้ง่าย ๆ เป็น ๒ ทาง คือ เพลงร้องทางหนึ่ง กับเพลงบรรเลงอีกทางหนึ่ง ซึ่งในที่สุดทั้งสองทางนี้ก็จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะต้องรับใช้สังคมร่วมกัน และเชื่อกันว่าเพลงร้องเกิดมาก่อนเพลงบรรเลง เพราว่าคนร้องพัฒนาการร้องได้สะดวก ด้วยคิดเอง ทำเอง ฝึกเองได้ไม่ต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือหรือมีคนช่วย ผู้คิดแต่งเพลงร้องลำพังคนเดียวก็อาจจะแต่งเพลงได้อย่างสบาย  แสดงว่าดนตรีไทยและเพลงไทยในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีนี้ เครื่องดนตรีไทยนั้นก็ครบอยู่ในประเภทเครื่องดนตรีทั้ง ๔ ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า และเพลงพื้นบ้านในภาคกลาง ในปัจจุบันนี้ได้ทราบการมาจากเพลงเทพทองอันเป็นเพลงพื้นเมืองในสมัยสุโขทัยตามความเชื่อว่าเกิดมีขึ้นในสมัยนี้ ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็นเพลงดนตรีเพราะยังไม่มีปี่พาทย์รับดังที่อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้กล่าวไว้ เครื่องดนตรีในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี แม้จะมีเครื่องดนตรีเกิดครบ ๔ ประเภท ดังกล่าวแล้ว แต่ในสมัยต่อ ๆ มาก็ได้เกิดเครื่องดนตรีชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีก
สมัยกรุงศรีอยุธยา การเปลี่ยนศูนย์อำนาจของชาวไทยจากกรุงสุโขทัยมายังกรุงศรีอยุธยามิได้หมายถึงความผิดแผกแตกต่างกันในทุกๆ ด้านอย่างสิ้นเชิง เพราะในขณะที่กรุงสุโขทัยได้รับการถ่ายทอดอารยะธรรมอินเดียบางอย่างจากขอม กรุงศรีอยุธยาก็รับเอาสัญลักษณ์เกือบจะทุกอย่างตามแบบรัฐอินเดียโบราณ ผ่านทางบรรพบุรุษในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง คือมอญและเขมร เข้ามาประสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมหลักของตนเช่นกัน และจากสามัญลักษณะแห่งการสืบสายทางวัฒนธรรมนี้เองเราอาจจะสรุปได้ ณ ที่นี้ว่าความเป็นสุโขทัยยังมีอยู่พร้อมมูลในกรุงศรีอยุธยา แต่ทว่ามีวิวัฒนาการในทางบวกมากยิ่งขึ้นตามผลแห่งความเจริญทางศิลปวิทยาของยุคสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ดนตรีไทยเจริญมาก ประชาชนนิยมเล่นดนตรีกันมาก เครื่องดนตรีในสมัยนี้ก็ได้มาตั้งแต่สุโขทัย แต่ได้มีการปรับปรุงรูปร่างและการประสมวงดนตรี มีการคิดเครื่องดนตรีเพิ่ม เช่น จะเข้ ในสมัยอยุธยานี้มีเครื่องดนตรีครบทุกชนิดด้วยความเจริญทางด้านดนตรีไทยในสมัยนี้ ทำให้ประชาชนนิยมเล่นดนตรีกันอย่างมากมาย ประชาชนมีความสามารถทางการดนตรีและใฝ่ใจเล่นกันจนเกินขอบเขตแม้ในเขตพระราชฐาน จนกระทั่งในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ – ๒๐๓๑) ต้องมีกฎมณเฑียรบาลกำหนดไว้ว่า
“…ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับในเขตพระราชฐาน…”
นอกจากเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยนี้คือ จะเข้ แล้วก็ยังมีระนาดซึ่งอาจารย์มนตรี ตราโมท ได้แสดงความคิดเห็นว่า
ตามประวัติศาสตร์เชื่อถือกันว่า สืบเนื่องมาจากอู่ทองและสืบเนื่องมาจากทวาราวดี ด้วยทวาราวดีนั้นนักประวัติศาสตร์ก็กล่าวว่าชาวเมืองพูดภาษามอญมีวัฒนธรรมอย่างมอญ โดยมากมอญนั้นเครื่องดนตรีเขามีระนาดอยู่ ไทยอาจจะได้ระนาดมาตั้งแต่สมัยอู่ทอง และมาอยู่ในอยุธยา ยังไม่ได้รวมกับสุโขทัยก็ได้ ครั้นเมื่อสุโขทัยมาขึ้นอยู่กับอยุธยา วงปี่พาทย์ก็ได้สัมพันธ์กัน เข้าใจว่าในตอนนี้เองที่ทำให้ปี่พาทย์สมัยอยุธยาเกิดมีระนาดขึ้นเป็นเครื่องห้าอย่างที่เราปฏิบัติกันอยู่ในสมัยนี้และสุจิตต์ วงษ์เทศ ก็ได้แสดงความคิดเห็นว่า ระนาดนั้นมีที่มาจากกรับ ที่ให้เสียงสูงต่ำไม่เท่ากัน เนื่องมาจากขนาดและน้ำหนัก ไม้ที่ถูกเหลามาต่างกัน จึงเกิดเป็นเสียงต่าง ๆ ขึ้นนั้นมีผู้เข้าใจว่าเป็นความพยายามของชาวบ้านที่ไม่มีเงินซื้อหาโลหะมาทำฆ้อง ได้คิดระนาดไม้ให้เกิดเสียงแทนฆ้อง แล้วโชคดีได้ทั้งเสียงดี แล้วยังสามารถใช้งานให้เกิดเสียงต่าง ๆ มากมายขึ้น ในที่สุดคนมีเงินที่เคยมีฆ้องก็ยอมรับระนาดของชาวบ้านไปผสมวงของตน พูนพิศ อมาตยกุล ก็ได้กล่าวถึงระนาดเอกว่า ระนาดเอกจึงเริ่มมีบทบาทเข้ามาสู่วงปี่พาทย์ไทยอย่างแท้จริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา และนั่นก็คือการเกิดปี่พาทย์เครื่องห้าขึ้น อันประกอบด้วยระนาดเอก ดำเนินทำนองฆ้องวง ดำเนินทำนองปี่ ดำเนินทำนองกลอง กรับ ฉิ่ง เป็นผู้คุมจังหวะ กลายเป็นปี่พาทย์เครื่องห้า ใช้การได้ทุกโอกาสมาจนทุกวันนี้ และเนื่องจากการคิดสร้างระนาดไม้ของคนไทยเรานี้มีโอกาสที่จะบรรเลงได้มากเสียง(๒๑ ลูก สำหรับระนาดเอก) ใช้ไม้ตี ๒ อันอันละมือ ดังนั้นจึงเกิดเทคนิคการใช้มือปฏิบัติต่อผืนระนาดแตกแขนงขึ้นมากมายเกินจะพรรณนาได้ตามเวลาที่ผ่านมา ในที่สุดระนาดเอกเลยกลายเป็นตัวเอก หรือพระเอกของวงดนตรีไทยไปในที่สุด เพราะสามารถทำให้เกิดเสียงมากแบบ มากในเนื้อหาอารมณ์ เกินกว่าเสียงดนตรีอื่น ๆ จะทำได้ ระนาดจึงกลายเป็นตัวนำในการบรรเลงเพลงไทยไปในที่สุด ดังนั้นในยุคของกรุงศรีอยุธยาจึงปรากฏเครื่องดนตรีครบทุกประเภท ดังนี้
เครื่องดีด มีกระจับปี่ จะเข้ พิณเพี้ยะ พิณน้ำเต้า
เครื่องสี มีซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง
เครื่องตีไม้ มีกรับพวง กรับคู่ กรับเสภา ระนาดเอก
เครื่องตีโลหะ มีฆ้องวงใหญ่ ฆ้องคู่ ฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง ฉาบ มโหระทึก
เครื่องตีหนัง มีตะโพน (ทับ) โทน รำมะนา กลองทัด กลองตุ๊ก
เครื่องเป่า มีปี่ใน ปี่กลาง (คงมีพวกปี่มอญและชวาด้วย) ขลุ่ย แตรงอน แตรสังข์
ดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับช่วงมาจากกรุงสุโขทัย แต่ก็ได้มีพัฒนาการในการคิดสร้างเครื่องดนตรีขึ้นมาอีกหลายชิ้น จนเครื่องดนตรีในสมัยนี้มีครบทุกประเภทและทุกชนิด ส่วนความเป็นมาของเพลงไทยนั้น ในสมัยโบราณเป็นประเภทเพลงขับกล่อม คือบรรเลงโดยไม่ได้ผสมกับการแสดง แต่เดิมเป็นเพลงชั้นเดียว ซึ่งเป็นเพลงจังหวะเร็ว” พอในสมัยกรุงศรีอยุธยา เหตุการณ์บ้านเมืองสงบสุข มีเวลาร้องรำทำเพลงสนุกสนานถึงขนาดออกกฎมณเฑียรบาลขึ้นเพื่อห้ามบรรเลงดนตรีในเขตพระราชฐานดังกล่าว เพลงไทยในสมัยนี้จึงเกิดมีมากมาย มีหลักฐานเชื่อได้ว่า มีเพลงในจังหวะสองชั้นเกิดขึ้นมากหลายเพลง ทั้งนี้เพราะสมัยอยุธยามีการแสดงประเภทโขน ละครและหนังใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยดนตรีทั้งสิ้น” เพลงจึงต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับท่ารำ และการบรรเลงขับกล่อม นอกจากนี้ตอนปลายสมัยอยุธยา หรือต้นรัตนโกสินทร์ ยังนิยมกันเล่นเพลงเรือ เพลงดอกสร้อย สักวา โดยเฉพาะการเล่นสักวาเป็นการนำไปสู่การร้องเพลงประเภทอัตราสามชั้น เนื่องจากต้องการเวลาให้ผู้แต่งกลอนคิดกลอนได้ทันกับเพลง นักร้องจึงพยายามยืดเพลงให้ยาวขึ้น โดยใช้วิธีเอื้อนให้มาก เพลงร้องประเภทสามชั้นจึงได้เกิดขึ้นในช่วงนี้ การแยกประเภทเพลงสมัยอยุธยานั้น จำแนกออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑. เพลงร้องมโหรี ใช้วงมโหรีเล่น มีไว้สำหรับบรรเลงขับกล่อมเพลงที่บรรเลงมี ๒ ชนิด คือ เพลงตับ และเพลงเกร็ด
๒. เพลงปี่พาทย์ ใช้วงปี่พาทย์เล่น มีไว้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และใช้บรรเลงประกอบพิธีการต่าง ๆ เพลงบรรเลงมี ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ เพลงหน้าพาทย์ และเพลงเรื่อง
๓. เพลงภาษา หมายถึง เพลงไทยที่มีสำเนียงของชาติต่าง ๆ มักใช้บรรเลงประกอบตัวละครตามชื่อนั้น ๆ
เพลงในสมัยกรุงศรีอยุธยามีมากมายหลายร้อยเพลง ซึ่ง สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ ก็ได้รวบรวมชื่อเพลงไว้ดังนี้คือ ชมตลาด มอญแปลง แหวนรอบก้อย ตานีร้องไห้ ช้าครวญ มโนห์ราโอด แสนเสนาะ มดน้อย โลมนอก หงส์ใช้ดอกบัว สาวสอดแหวน โฉลกไทยใหญ่ สาธุการ สร้อยเพลง ล่องเรือ นางบุหร่ง ตระรัว ทะเลบ้า บุล่ง เนระคันโยค ช้าปี่ อังคารสี่บท จีนขิมเล็ก ต่อยรูป โอ้ร่าย ล่องเรือละคร เขมรเป่าใบไม้ แสนสุดสวาท ดอกไม้ไทร เนื้อมโหรี แขกต่อยหม้อ นาคเกี้ยว ชกมวย จันดิน เต่ากินผักบุ้ง เทพลีลา เชิงตะกอน จำปาทองเทศ พราหมณ์ดีดน้ำเต้า จระเข้หางยาว พุทรากระแทก ราโค หงส์ทอง เขมรเขาเขียว สรรเสริญพระจันทร์ สารถี ศรีประเสริฐ แขกลพบุรี ธรณีร้องไห้ นางร่ำ อุปราชขาดคอช้าง มหาชัย เหรา สุรินทราหู เหราเล่นน้ำ ระส่ำระสาย ย่านเถร ยิกินแปดบท บ้าระบุ่นเทศ ญี่ปุ่น พระนครเขิน
ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านดนตรีไทยและเพลงไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยามีทั้งด้านการคิดสร้างเครื่องดนตรี และบทเพลงประกอบการแสดงโขน ละครขึ้นมากมาย ซึ่งก็ได้มีการนำเอาเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ เข้ามาเล่นผสมกันจนเกิดมีวงดนตรีไทยขึ้น ๓ ประเภท คือ วงปี่พาทย์ วงมโหรี และวงเครื่องสาย นับว่าเป็นยุคศิวิไลซ์แห่งการดนตรีไทยที่ปัจจุบันสามารถศึกษาได้จากหลักฐานต่าง ๆ ในแต่ละยุคที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการแห่งศิลปวิทยาที่ได้มีการคิดค้นสั่งสมสร้างสรรค์ ตกทอดเป็นมรดกยุคสมัยเรื่อยมา
ครั้นแล้วความวิปโยคอาดูรก็เกิดแก่กรุงศรีอยุธยา หลังจากที่เป็นราชธานีมานาน ก็พลันล่มสลายลงด้วยทัพศึกพม่า ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ สร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนไทยทุก ๆ ด้าน คนไทยต้องตกอยู่ในอำนาจความเศร้าจากการสูญเสียกรุงเป็นเวลาถึง ๗ เดือนเศษ ก็เข้าสู่ยุคสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพระเจ้าตากสินกรีฑาทัพขับไล่พม่าออกแดนดินสำเร็จ แต่ความยับเยินของกรุงศรีอยุธยายากนักจักฟื้นฟูสภาพเดิมได้ กรุงศรีอยุธยาจึงถูกปล่อยให้เป็นซากแห่งความทรงจำ เป็นจารึกเตือนใจมนุษยชาติ และอาจจะกล่าวได้ว่าจุดนั้นเป็นจุดสุดท้ายของการสร้างสรรค์ความรุ่งเรืองพร้อม ๆ กับการเริ่มต้นสู่ความเปลี่ยนแปลงกันใหม่ เวียนว่ายยุคสมัยแห่งเผ่าพันธุ์และมนุษยชาติอีกครั้ง
กรุงธนบุรี จึงเกิดขึ้นด้วยพระเจ้าตากสินมหาราช การศึกษายังคงติดพันพร้อม ๆ กับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอารยธรรมไทยในด้านต่าง ๆ ทำให้ค่อย ๆ ฟื้นสภาพทีละน้อย ๆ ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี จนลุสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หากยุคสมัยจะสิ้นไป แต่วัฒนธรรมยังคงอยู่ก็ไม่ถือว่าสิ้นชาติ และไทยเราก็ได้พิสูจน์สัจธรรมนี้ ซึ่งในที่นี้เป็นส่วนกล่าวถึงดนตรีไทยและเพลงไทย อันเป็นวัฒนธรรมประการหนึ่งของชาติ อาจกล่าวได้ว่าความรุ่งเรืองแห่งดนตรีไทยและเพลงไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นเคยศิวิไลซ์อย่างไร กรุงรัตนโกสินทร์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า กลับวิวัฒนาการขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เราสามารถแบ่งความเจริญทางดนตรีไทยได้ตามรัชสมัย คือ
สมัยรัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมขึ้นโดย ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ให้สมบูรณ์และเรื่องดาหลังซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีมาแต่สมัยอยุธยา วรรณคดีทั้งสองเรื่องนี้ใช้นำแสดงละครและแสดงโขน” และได้มีครูดนตรีเพิ่มกลองทัดขึ้นในวงปี่พาทย์ขึ้นอีกลูกหนึ่ง เดิมทีเดียววงปี่พาทย์มีกลองทัดเพียงลูกเดียว ลูกที่เพิ่มขึ้นเสียงต่างกันออกไปทำให้เกิดเป็นเสียงขึ้น คือ เสียงสูงตีดัง ตูม” กับเสียงต่ำตีดัง ต้อม” เรียกลูกที่มีเสียงสูงว่า ตัวผู้” เรียกลูกที่มีเสียงต่ำว่า ตัวเมีย” กลองทัดที่เพิ่มขึ้นเป็นสองลูกนี้ยังนิยมใช้กันมาจนปัจจุบันนี้
สมัยรัชกาลที่ ๒ ดนตรีไทยได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยพระองค์ ทรงส่งเสริมด้านวรรณคดีและการละคร ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาและรามเกียรติ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมแก่การเล่นละครในมากยิ่งขึ้น จนวรรณคดีเรื่องอิเหนาได้รับการยกย่องว่าเป็นกลอนบทละครที่ดีที่สุด ส่วนด้านดนตรีก็เฟื่องฟูเช่นเดียวกัน ถึงปรากฏพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่าทรงสีซอสามสายได้เป็นเลิศ มีซอคู่พระหัตถ์เรียกว่า ซอสายฟ้าฟาด” และมีเพลงพระราชนิพนธ์ใหม่เกิดขึ้นคือ เพลงบุหลันลอยเลื่อน และในสมัยของพระองค์นี้ก็ได้มีการใช้กลองสองหน้า (คือเปิงมาง) เพิ่มขึ้นในวงปี่พาทย์
สมัยรัชกาลที่ ๓ ไม่ทรงโปรดการละครและดนตรี ทรงให้ยกเลิกละครหลวงเสียด้วย ส่วนเจ้านายจะจัดให้มีการเล่นละครภายในวังของตนก็ไม่ทรงห้าม ดังนั้นการละครและดนตรีจึงไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ตามวังของเจ้านายและบรรดาเจ้านายเหล่านี้ก็ได้มีส่วนสำคัญในการอุปถัมภ์ส่งเสริมให้การละครและดนตรีไทยเจริญรุ่งเรืองสืบเรื่อยมาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕
การประดิษฐ์เครื่องดนตรีในสมัยพระองค์นั้นก็ได้มีการประดิษฐ์ ระนาดทุ้ม” ขึ้นเพื่อให้เป็นคู่กับระนาดเอก มีลักษณะตามแบบระนาดเอก แต่ให้มีลูกระนาดบางกว่า แต่ใหญ่กว่า เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มต่ำ และมีเพลงสามชั้นให้ร้องส่งประกอบมโหรีปี่พาทย์ขึ้น และเกิด ฆ้องวงเล็ก” ขึ้นใช้ในระยะนี้ด้วย เพื่อให้คู่กับฆ้องวงใหญ่ ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์กลายเป็นปี่พาทย์เครื่องคู่ ซึ่งมาจากปี่พาทย์เครื่องห้า แล้วต่อมาพัฒนาเป็นปี่พาทย์เครื่องใหญ่
สมัยรัชกาลที่ ๔ มีชาวยุโรปและชาวอเมริกันเข้ามาติดต่อมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาอังกฤษจนแตกฉาน โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรของรัชกาลนี้ทรงรู้ภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวาง ได้ช่วยราชการเป็นอเนกประการเป็นต้น จึงรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกแทรกซึมเข้ามาโดยไม่รู้สึก เช่นการที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดประดิษฐ์สร้างระนาดทุ้มเหล็กและระนาดเอกเหล็ก (หัว-ท้าย) ขึ้นเพิ่มเติมในวงปี่พาทย์ ให้เป็นปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็นับได้ว่าเป็นสิ่งสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมตะวันตกด้วย
ในปลายรัชกาลที่ ๔ ได้เกิดการนิยมเล่นแอ่วลาวเป่าแคนกันมาก จนแม้ในวังเจ้านาย เช่น วังหน้าและวังกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ก็นิยมมากจนผู้เล่นมโหรีปี่พาทย์น้อยลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติห้ามเล่นแอ่วลาว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๘ ด้วยทรงรังเกียจว่าไม่ใช่ของไทยแท้ เป็นของประเทศราช จะนำมาเป็นของไทยนั้นหากใครเล่นจะเก็บภาษีให้แรง ประชาชนจึงคลายการเล่นแอ่วลาวลง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หากยุคสมัยจะสิ้นไป แต่วัฒนธรรมยังคงอยู่ก็ไม่ถือว่าสิ้นชาติ และไทยเราก็ได้พิสูจน์สัจธรรมนี้ ซึ่งในที่นี้เป็นส่วนกล่าวถึงดนตรีไทยและเพลงไทย อันเป็นวัฒนธรรมประการหนึ่งของชาติ อาจกล่าวได้ว่าความรุ่งเรืองแห่งดนตรีไทยและเพลงไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นเคยศิวิไลซ์อย่างไร กรุงรัตนโกสินทร์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า กลับวิวัฒนาการขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เราสามารถแบ่งความเจริญทางดนตรีไทยได้ตามรัชสมัย คือ
สมัยรัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมขึ้นโดย ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ให้สมบูรณ์และเรื่องดาหลังซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีมาแต่สมัยอยุธยา วรรณคดีทั้งสองเรื่องนี้ใช้นำแสดงละครและแสดงโขน” และได้มีครูดนตรีเพิ่มกลองทัดขึ้นในวงปี่พาทย์ขึ้นอีกลูกหนึ่ง เดิมทีเดียววงปี่พาทย์มีกลองทัดเพียงลูกเดียว ลูกที่เพิ่มขึ้นเสียงต่างกันออกไปทำให้เกิดเป็นเสียงขึ้น คือ เสียงสูงตีดัง ตูม” กับเสียงต่ำตีดัง ต้อม” เรียกลูกที่มีเสียงสูงว่า ตัวผู้” เรียกลูกที่มีเสียงต่ำว่า ตัวเมีย” กลองทัดที่เพิ่มขึ้นเป็นสองลูกนี้ยังนิยมใช้กันมาจนปัจจุบันนี้
สมัยรัชกาลที่ ๒ ดนตรีไทยได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยพระองค์ ทรงส่งเสริมด้านวรรณคดีและการละคร ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาและรามเกียรติ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมแก่การเล่นละครในมากยิ่งขึ้น จนวรรณคดีเรื่องอิเหนาได้รับการยกย่องว่าเป็นกลอนบทละครที่ดีที่สุด ส่วนด้านดนตรีก็เฟื่องฟูเช่นเดียวกัน ถึงปรากฏพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่าทรงสีซอสามสายได้เป็นเลิศ มีซอคู่พระหัตถ์เรียกว่า ซอสายฟ้าฟาด” และมีเพลงพระราชนิพนธ์ใหม่เกิดขึ้นคือ เพลงบุหลันลอยเลื่อน และในสมัยของพระองค์นี้ก็ได้มีการใช้กลองสองหน้า (คือเปิงมาง) เพิ่มขึ้นในวงปี่พาทย์
สมัยรัชกาลที่ ๓ ไม่ทรงโปรดการละครและดนตรี ทรงให้ยกเลิกละครหลวงเสียด้วย ส่วนเจ้านายจะจัดให้มีการเล่นละครภายในวังของตนก็ไม่ทรงห้าม ดังนั้นการละครและดนตรีจึงไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ตามวังของเจ้านายและบรรดาเจ้านายเหล่านี้ก็ได้มีส่วนสำคัญในการอุปถัมภ์ส่งเสริมให้การละครและดนตรีไทยเจริญรุ่งเรืองสืบเรื่อยมาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕
การประดิษฐ์เครื่องดนตรีในสมัยพระองค์นั้นก็ได้มีการประดิษฐ์ ระนาดทุ้ม” ขึ้นเพื่อให้เป็นคู่กับระนาดเอก มีลักษณะตามแบบระนาดเอก แต่ให้มีลูกระนาดบางกว่า แต่ใหญ่กว่า เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มต่ำ และมีเพลงสามชั้นให้ร้องส่งประกอบมโหรีปี่พาทย์ขึ้น และเกิด ฆ้องวงเล็ก” ขึ้นใช้ในระยะนี้ด้วย เพื่อให้คู่กับฆ้องวงใหญ่ ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์กลายเป็นปี่พาทย์เครื่องคู่ ซึ่งมาจากปี่พาทย์เครื่องห้า แล้วต่อมาพัฒนาเป็นปี่พาทย์เครื่องใหญ่
สมัยรัชกาลที่ ๔ มีชาวยุโรปและชาวอเมริกันเข้ามาติดต่อมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาอังกฤษจนแตกฉาน โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรของรัชกาลนี้ทรงรู้ภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวาง ได้ช่วยราชการเป็นอเนกประการเป็นต้น จึงรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกแทรกซึมเข้ามาโดยไม่รู้สึก เช่นการที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดประดิษฐ์สร้างระนาดทุ้มเหล็กและระนาดเอกเหล็ก (หัว-ท้าย) ขึ้นเพิ่มเติมในวงปี่พาทย์ ให้เป็นปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็นับได้ว่าเป็นสิ่งสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมตะวันตกด้วย
ในปลายรัชกาลที่ ๔ ได้เกิดการนิยมเล่นแอ่วลาวเป่าแคนกันมาก จนแม้ในวังเจ้านาย เช่น วังหน้าและวังกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ก็นิยมมากจนผู้เล่นมโหรีปี่พาทย์น้อยลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติห้ามเล่นแอ่วลาว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๘ ด้วยทรงรังเกียจว่าไม่ใช่ของไทยแท้ เป็นของประเทศราช จะนำมาเป็นของไทยนั้นหากใครเล่นจะเก็บภาษีให้แรง ประชาชนจึงคลายการเล่นแอ่วลาวลง
สมัยรัชกาลที่๕ เป็นรัชกาลที่ศิลปวัฒนธรรมของตะวันตกได้เป็นสมุฏฐานให้ศิลปะในประเทศไทยขยายแยกออกไปมากมาย เช่น เกิดการแสดงละครขึ้นอีกหลายแบบ การบรรเลงแตรวง ซึ่งมีมาแต่รัชกาลก่อนก็ขยายตัวปรับปรุงให้กว้างขวางออกไป
ในสมัยนี้ เกิดเครื่องดนตรีใหม่คือ กลองตะโพน (ความจริงก็คือตะโพนของเดิมนั่นเอง) แต่นำมาตีแบบกลองทัดแล้วตีด้วยไม้นวมเพื่อให้เกิดเสียงต่ำทุ้มมีกังวาน และได้เกิดวงปี่พาทย์ไม้นวมชนิดหนึ่งเรียกว่าปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ใช้คู่กับละครแบบใหม่ ซึ่งดัดแปลงมาจากโอเปร่า ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้ฟังไพเราะมาก เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องหุ่ย (ฆ้อง ๗ ใบ) ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ย ซออู้ และเครื่องกำกับจังหวะ
สมัยรัชกาลที่ ๖ พระองค์ก็ทรงเป็นทั้งนักประพันธ์เพลง ประพันธ์บทละครพูด ละครรำ ทรงเป็นนักเสภาและทรงเป็นนักร้องเพลงไทยที่ยอดเยี่ยมพระองค์หนึ่ง
นับว่ายุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้มีความเจริญทางด้านดนตรีไทยและเพลงไทยอย่างยิ่ง แม้พระองค์เองก็ทรงมีพระปรีชาสามารถเป็นพระองค์นำทางด้านนี้ จนเกิดนักดนตรีไทยและเพลงไทยขึ้นมากมายทั้งพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ เอาใจใส่ให้พสกนิกรและบรรดาครูดนตรีฝีมือดีได้มีความเป็นอยู่อย่างดีกินดีมีสุข พร้อมทั้งพระราชทานนามสกุล บรรดาศักดิ์และชื่อเสียงเกียรติยศให้อย่างเอาพระทัยใส่ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่วงการดนตรีไทยอย่างล้นพ้น
สมัยรัชกาลที่ ๗ ในสมัยของพระองค์นี้นับเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างความเปลี่ยนแปลงและการแบ่งยุคสมัยของดนตรีไทยและเพลงไทยจากระบอบการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยในช่วงปลายของสมัยพระองค์ และสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๗ ก็คือ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกและประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลด้วย แต่อย่างไรก็ตามกำลังใจของนักดนตรีไทยก็ยังมีมากอยู่
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาดนตรีจนมีความสามารถในการเล่นดนตรีไทย และพระราชนิพนธ์เพลงไทยไว้ถึง ๓ เพลง คือ ราตรีประดับดาวเถา (พ.ศ.๒๔๗๒) เขมรละออองค์เถา (ต้นปี พ.ศ.๒๔๗๔) และโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น (ปลายปี พ.ศ.๒๔๗๔)
ในช่วงนี้เป็นยุคแรกเริ่มของดนตรีร่วมสมัย (Contemporary Music) ซึ่งเป็นการนำเอาดนตรีไทยมาผสมผสานกับเครื่องดนตรีตะวันตก เช่น ออร์แกน กลายมาเป็นวงเครื่องสายผสมออร์แกน โดยต้องทำการปรับเสียงของดนตรีไทยให้เป็นเสียงดนตรีตะวันตก (คีย์ C) ซึ่งดนตรีไทยจะเป็นเสียงคีย์ แฟลท ซึ่งจะต่ำกว่าเสียงดนตรีตะวันตก ๑ เสียงโดยประมาณ
สมัยรัชกาลที่ ๙ เกิดวงมหาดุริยางค์ไทยซึ่งเป็นการจัดประสมวงดนตรีขนาดใหญ่โดยรวมเครื่องดนตรีทั้งประเภทดีด สี ตี เป่า และเครื่องกำกับจังหวะ  โดยคุณครูประสิทธิ ถาวร เป็นผู้ริเริ่ม แสดงครั้งแรกในวาระกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

ความคิดเห็น